เมนู

7. ขัชชนิยสูตร



ว่าด้วยสิ่งที่ถูกขันธ์ 5 เคี้ยวกิน



[158] กรุงสาวัตถี. ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อตามระลึกถึงนพเพนิวาส
(ชาติก่อน) เป็นจำนวนมาก ก็จะระลึกได้ตามลำดับ สมณะหรือพราหมณ์
ทั้งปวงนั้น ก็จะตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ 5 หรือขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง
บรรดาขันธ์เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน? คือ จะตามระลึกถึงรูป
ดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ จะตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า
ในอดีตกาลเราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้ จะตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า
ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ จะตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า
ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้ จะตามระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า
ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้.
[159] ก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป? เพราะ
สลายไปจึงเรียกว่ารูป สลายไปเพราะอะไร? สลายไปเพราะหนาวบ้าง
เพราะร้อนบ้าง เพราะหิวบ้าง เพราะระหายบ้าง เพราะสัมผัสแห่ง
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะอะไรจึงเรียกว่าเวทนา? เพราะเสวยจึงเรียกว่าเวทนา เสวย
อะไร? เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์
ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า
สัญญา? เพราะจำได้หมายรู้จึงเรียกว่าสัญญา จำได้หมายรู้อะไร?
จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่าสังขาร? เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม

จึงเรียกว่าสังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร? ปรุงแต่งสังขตธรรม
คือ รูป โดยความเป็นรูป ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ เวทนา โดยความ
เป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร ปรุงแต่ง
สังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะอะไรจึงเรียกว่าวิญญาณ? เพราะรู้แจ้งจึงเรียกว่าวิญญาณ
รู้แจ้งอะไร? รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง
รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสจืดบ้าง.
[160] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราถูกรูปกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูก
รูปกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้ ก็เรานี้แล พึงชื่นชม
รูปอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็คงจะถูกรูปกิน เหมือนกับที่ถูกรูป
ปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้ เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัย
ในรูปอดีต ย่อมไม่ชื่นชมรูปอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อความดับรูปปัจจุบัน. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราถูกเวทนากินอยู่... บัดนี้เราถูกสัญญา
กินอยู่... บัดนี้เราถูกสังขารกินอยู่... บัดนี้เราถูกวิญญาณกินอยู่
แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกวิญญาณ
ปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้ ก็เรานี้แล พึงชื่นชมวิญญาณอนาคต แม้ใน
อนาคตกาล เราก็คงจะถูกวิญญาณกินอยู่ เหมือนกับที่ถูกวิญญาณ
ปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้ เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัย
ในวิญญาณ แม้ที่เป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมวิญญาณอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณปัจจุบัน.

[161] ภ. ก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[162] ภ. ก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือ
ละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ รูปทั้งหมดนั้น
เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. เวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกล
หรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราตถาคต
เรียกว่า จะปราศจากสะสม สั่งสม (วัฏฏะ) จะละทิ้ง ไม่ถือมั่น
จะกระจาย ไม่รวบรวมเข้าไว้ จะทำให้มอดไม่ก่อไห้ลุกโพลงขึ้น.
[163] อริยสาวกจะปราศจากสั่งสม ไม่สั่งสมอะไร? จะ
ปราศจากสั่งสมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่สั่งสมรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จะละทิ้งอะไร? ไม่ถือมั่นอะไร?
จะละทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ถือมั่นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ จะกระจายอะไร? ไม่รวบรวมอะไรไว้?
จะกระจายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่รวบรวมรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณเข้าไว้ จะทำอะไรให้มอด? ไม่ก่ออะไรให้
ลุกโพลงขึ้น? จะทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด ไม่ก่อ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ จะเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งใน
เวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม
คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จะหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
จะมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า จะไม่สั่งสม (และ) ไม่ปราศจาก

สั่งสม แต่เป็นปราศจากสั่งสมแล้วดำรงอยู่ จะไม่ละ (และ) ไม่ถือมั่น
แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ จะไม่ขยาย (และ) ไม่รวบรวมไว้ แต่เป็น
ผู้ขยายแล้วตั้งอยู่ จะไม่ทำให้มอด (และ) ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็น
ผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.
[164] อริยสาวกจะไม่ก่อ ไม่ปราศจากสั่งสม แต่ปราศจาก
สั่งสมอะไรแล้วตั้งอยู่? จะไม่ปราศจากสั่งสมรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ แต่เป็นผู้ปราศจากสั่งสมแล้วตั้งอยู่ จะไม่ละอะไร ไม่ถือมั่น
อะไร แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ ? จะไม่ละรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นผู้ละได้
แล้วตั้งอยู่ จะไม่กระจายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้ แต่เป็น
ผู้กระจายได้แล้วตั้งอยู่ จะไม่กระจายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่เป็นผู้กระจายได้
แล้วตั้งอยู่ จะไม่ทำอะไรให้มอด ไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็น
ผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่ จะไม่ทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ให้มอด ไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น
แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาพร้อมด้วย
อินทรี พรหม และท้าวปชาบดี ย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตพ้นแล้ว
อย่างนี้แล แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมต่อท่าน ผู้ซึ่งข้าพเจ้า
ทั้งหลายมิได้รู้จักโดยเฉพาะ และผู้ซึ่งได้อาศัย
เพ่งพินิจอยู่ ดังนี้.

จบ ขัชชนิยสูตร

อรรถกถาขัชชนิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในขัชชนิยสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ ความว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสหมายเอาการระลึกถึงด้วยอำนาจอภิญญา
ก็หาไม่ แต่ตรัสหมายเอาสมณพราหมณ์ผู้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่
ในภพก่อนด้วยอำนาจวิปัสสนา.
ด้วยเหตุนั้นแล พระองค์จึงตรัสว่า สมณะหรือพราหมณ์
ย่อมระลึกถึงขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน 5 เหล่านั้นทั้งหมด หรือ
ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง บรรดาขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน 5 เหล่านั้น.
อธิบายว่า ขันธ์ก็ดี อุปาทานขันธ์ก็ดี สิ่งที่เนื่องด้วยขันธ์ก็ดี
บัญญัติก็ดี จัดเป็นอารมณ์แห่งการระลึกถึงด้วยอำนาจอภิญญาทั้งนั้น.
บทว่า รูปญฺเญว อนุสฺสรติ ความว่า ภิกษุผู้ระลึกถึงอยู่อย่างนี้
ไม่ใช่ระลึกถึงสัตว์หรือบุคคลอะไร ๆ อื่น แต่ว่า เธอได้ระลึกถึงเฉพาะ
รูปขันธ์ที่ดับแล้วในอดีต.
แม้ในขันธ์อื่นมีเวทนาเป็นต้น ก็มีนัย (ความหมาย) อย่าง
(เดียวกัน) นี้ เหมือนกันแล.
บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงลักษณะแห่งสุญญตา พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า กิญฺจ ภิกฺขเว รูปํ วเทถ ดังนี้เป็นต้น.
อธิบายว่า เปรียบเหมือนเมื่อโคฝูง (หนึ่ง) กำลังเที่ยวหากินอยู่
ชาย (คนหนึ่ง) กำลังตามหาโค (ของตน) ที่หายไป พอเห็นโคพลิพัท
ตัวสีขาว สีแดง หรือสีดำเข้า ก็ยังไม่อาจตกลงใจได้ด้วยเหตุที่เห็นเพียง